รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียก๊าซโอโซน เพื่อคืนน้ำดีสู่สิ่งแวดล้อม
ในหนึ่งวันประเทศไทยของเรามีการผลิต ‘น้ำเสีย’ จากกิจกรรมต่างๆ มากถึง 9.5 ล้านลูกบาศก์เมตร อ้างอิงข้อมูลจากองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 7,353 แห่ง ซึ่งภาครัฐสามารถรับมือจัดการกับน้ำเสียได้เพียงวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
เท่ากับว่าน้ำเสียกว่า 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน จะอยู่ในความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารต่างๆ ที่จะต้องติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน ก่อนปล่อยน้ำคืนสู่แหล่งธรรมชาติ เพื่อลดการสร้างผลกระทบต่อวงจรของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ รวมถึงป้องกันการสร้างแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง
รู้จักชนิดของ ‘น้ำเสีย’ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
มีโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่ก่อกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดน้ำเสีย หรือ น้ำทิ้ง ที่มีสารปนเปื้อนอันตรายต่อสุขภาพ อาจปนเปื้อนในปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของน้ำเสีย ตามการเจือปนของสารต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. น้ำเสียทางชีวภาพ
น้ำเสียทางชีวภาพ หรือ Biological Wastewater คือ น้ำเสียที่ปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์อยู่เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โปรตีน, ไขมัน และ แป้ง เราสามารถพบน้ำเสียทางชีวภาพในแหล่งโรงงานอาหารสัตว์, โรงงานผลิตเบียร์, โรงงานเหล้า, โรงงานอาหารทะเลแปรรูป และ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอาหารอื่นๆ ซึ่งระดับความรุนแรงของการเน่าเสียของน้ำทิ้ง สามารถชี้วัดได้ด้วยค่า BOD หรือ Biochemical Oxygen Demand หากค่า BOD ในน้ำทิ้งสูง จะส่งผลให้น้ำเสียมีสภาพเน่าเหม็นได้มาก หากปล่อยสู่ธรรมชาติโดยไม่บำบัดเสียก่อน
2. น้ำเสียทางเคมี
น้ำเสียทางเคมี หรือ Chemical Wastewater เกิดจากกระบวนการผลิตที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก, สารปรอท, โครเมียม, สังกะสี, ดีบุก, แคดเมียม, ซัลไฟด์ และ น้ำทิ้งที่มีสภาพความเป็นกรดหรือด่างที่สูงเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งมักพบในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเกี่ยวกับสารเคมี ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์, โรงงานผลิตกระดาษ, อุตสาหกรรมสิ่งทอ, โรงเหล็ก, อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นต้น
ตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำเสียทางเคมี สามารถพิจารณาได้จากค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ออกซิไดซ์ทางเคมี หรือ ค่า COD (Chemical Oxygen Demand) ซึ่งน้ำเสียหรือน้ำทิ้งที่มีค่า COD สูง แสดงถึงการปนเปื้อนของสารอินทรีย์สูง ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
3. น้ำเสียที่มีส่วนผสมของน้ำมัน และสารลอยน้ำต่างๆ
น้ำเสียที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมันและสารลอยน้ำ หรือ Oily Wastewater เกิดจากกระบวนการผลิตที่มีการใช้วัตถุดิบน้ำมันเป็นส่วนประกอบ พบได้ในโรงงานผลิตน้ำมันต่างๆ, โรงงานผลิตยาง หรือ โรงงานระบบไฟฟ้า เป็นต้น การวัดคุณภาพของน้ำเสียประเภทนี้ จะชี้วัดโดยใช้ค่า TDS หรือ Total Dissolved Solids ซึ่งเป็นการวัดจากค่าปริมาณรวมของการละลายสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในน้ำเสีย ในรูปแบบของแขวนลอยโมเลกุล
น้ำเสียหรือน้ำทิ้งที่มีค่า TDS สูงเกินกว่า 1,000 ppm ขึ้นไป อาจไม่สามารถสรุปได้ในทันทีว่าน้ำเสียนั้นเป็นอันตราย ขึ้นอยู่กับประเภทของสารปนเปื้อนในน้ำที่ทำให้เกิดค่า TDS ซึ่งอาจเป็นแร่ธาตุที่ไม่เป็นอันตรายก็ได้ อย่างไรก็ตามค่า TDS ตามมาตรฐานน้ำเสียที่สามารถระบายออกจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ จะต้องมีค่า TDS ไม่เกิน 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามเกณฑ์กำหนดของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานด้วยก๊าซโอโซน กระบวนการรีไซเคิลน้ำที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีบำบัดน้ำเสียที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ทุกประเภท คือ ‘ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยก๊าซโอโซน’ บำบัดได้ทั้งน้ำเสียทางชีวภาพ, น้ำเสียทางเคมี และ น้ำเสียที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ให้ผลลัพธ์การบำบัดดีเยี่ยม มีประสิทธิภาพสูง และไม่ก่อมลพิษอื่นๆ ตลอดกระบวนการบำบัด
ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยก๊าซโอโซน สามารถยกเลิกการใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสียได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากก๊าซโอโซนละลายในน้ำได้ดีมาก สามารถกำจัดสีและกลิ่นของน้ำเสียในขั้นตอนบำบัดสุดท้ายได้อย่างหมดจด โดยไม่ทิ้งสารตกค้างให้กับน้ำทิ้ง และที่สำคัญระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานที่ใช้ก๊าซโอโซนในการบำบัด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานแบบเติมอากาศในรูปแบบเก่าได้ถึง 50%
ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยก๊าซโอโซน ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และกรมอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนผู้ใช้หอระบายน้ำเย็น หรือ Cooling Tower มาแล้วว่า ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานที่ใช้ก๊าซโอโซนสามารถทำงานร่วมกับระบบหอระบายน้ำเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า และสารเคมี จากการป้องกันการเกิดตะกรันในคอนเด็นเซอร์ ไปพร้อมๆ กับการรักษาสภาพน้ำในระบบหอระบายน้ำเย็นให้มีสภาพดีอยู่ตลอดเวลา และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Legionella Bacteria ที่เป็นสาเหตุของการก่อโรคทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันได้แบบ 100%
จะเห็นว่าโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมากมายหลายประเภท มีความจำเป็นต้องติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน เพื่อให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดีก่อนปล่อยน้ำคืนสู่แหล่งธรรมชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ ที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องรับผิดชอบควบคุมน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมมลพิษได้กำหนด หรือสามารถนำน้ำเสียกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย
บริษัท ทรีซิกตี้ซิก (366) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน ด้วยระบบก๊าซโอโซนซึ่งเป็นเทคโนโลยีกรรมวิธีบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ระบบบำบัดน้ำเสียก๊าซโอโซน จาก บริษัท ทรีซิกตี้ซิก (366) จำกัด เป็นกรรมวิธีการบำบัดน้ำเสียที่ช่วยให้ผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่าย และประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และ ร่วมอนุรักษ์พลังงานโลก ด้วยการบำบัดน้ำเสียโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีในการบำบัด และไม่มีก๊าซพิษตกค้างหลังการบำบัด พร้อมประสิทธิภาพความคงทนของอุปกรณ์ที่เหนือกว่า
บริษัท ทรีซิกตี้ซิก (366) จำกัด ผู้นำระบบบำบัดน้ำเสียด้วยก๊าซโอโซน พัฒนาเทคโนโลยีโดยฝีมือคนไทย ระบบการทำงานมีความเสถียรสูง เครื่องมือได้มาตรฐานสากลระดับโลก ผู้ใช้งานสามารถตรวจเช็คการทำงานของเครื่องได้อย่างใกล้ชิด ด้วยการควบคุมและสั่งการผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ อำนวยความสะดวกและตอบโจทย์การใช้งานซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะจาก บริษัท ทรีซิกตี้ซิก (366) จำกัด เท่านั้น
สนใจติดต่อขอรับคำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบำบัดน้ำเสีย บริษัท ทรีซิกตี้ซิก จำกัด ได้ที่
39/89 ซอยลาดพร้าว 33 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 02-513-8223 หรือ 089-123-3384, 096-885-4397 | Fax. 02-967-7001